วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักการอ่านคำบาลีและสันสกฤต


หลักการอ่านคำบาลีและสันสกฤต

คำบาลีและสันสกฤตนั้นมีหลักเกณฑ์การอ่านเป็นระเบียบแน่นอน แต่ไทยเรารับมาใช้แล้วได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ต่างๆ ไปบ้าง เพื่อความเหมาะสมกับบความนิยมของคนไทย ซึ่งมีหลักพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
๑. อ่านแบบเรียงพยางค์ คำบาลีและสันสกฤตที่ไม่เป็นตัวสะกด จะต้องมีรูปบสระกำกับอยู่เสมอ ถ้าหากไม่มีรูปสระใดกำกับอยู่ ให้อ่านออกเสียง อะ ทุกคำ ตัวอย่าง เช่น
กรณ อ่าน กะระนะ
วานร
วานะระ
ฯลฯ
๒. อ่านแบบพยัญชนะสังโยค พยัญชนะสังโยค คือ พยัญชนะสองตัวที่ประกอบร่วมกัน ตัวหนึ่งเป็นตัวสะกด อีกตัวหนึ่งเป็นตัวตาม เช่น สปฺต ตัว ป กับ ต เป็นพยัญชนะสังโยค ป เป็นตัวสะกด ต เป็นตัวตาม หลักการอ่านพยัญชนะสังโยคนี้ ถ้วตัวใดเป็นตัวสะกดไม่ต้องอ่านออกเสียง ตัวอย่าง เช่น
สัปดาห์ อ่าน สับดา
อาชญา
อาดยา
ฯลฯ
แต่มีข้อยกเว้นหลายกรณีด้วยกัน คือ
๒.๑ ถ้าพยัญชนะตัวหลังของตัวสะกด เป็นพยัญชนะ คือ ย ร ล ว เวลาอ่านออกเสียง อะ ที่ตัวสะกดได้ครึ่งเสียง ตัวอย่างเช่น
วิทยา อ่าน วิดทะยา
จัตวา
จัดตะวา
๒.๒ ถ้าพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้า เป็นตัว ล ให้อ่านออกเสียง ล มีเสียงอะได้ครึ่งหนึ่ง เช่น
กัลยา อ่าน กันละยา
ศิลปะ
สินละปะ
๒.๓ ถ้าพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้า เป็นพยัญชะอุสุม หมายถึง พยัญชะที่มีเสียงสอดแทรกออกทางไรฟัน ซึ่งได้แก่พยัญชนะ ศ ษ ส และมีพยัญชะตัวอื่นตามมาต้องอ่านออกเสียงสะ ติดต่อกับพยางค์หลัง เช่น
สัสดี อ่าน สัดสะดี
ทฤษฎี
ทริดสะดี

ฯลฯ

 

แต่มียกเว้นไม่ต้องอ่านออกเสียง เป็น พยัญชนะ อุสุม อยู่ ๓ คำคือ

สวัสดี อ่าน สะหวัดดี

สันนิษฐานสันนิดถาน

อธิษฐานอะทิดถาน

หลักการอ่านคำสมาส

คำสมาส คือ คำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาประสมกัน เพื่อย่อให้เป็นคำเดียวกัน เวลาอ่านต้องอ่านออกเสียงตัวสะกดของพยางค์หน้า ให้ติดต่อกับพยางค์แรกของคำหลังด้วย มีหลักเกณฑ์การอ่านดังต่อไปนี้

๑. ถ้าเป็นคำสมาสที่พยางค์ท้ายของคำหน้าไม่มีรูปสระใดกำกับอยู่ จะต้องอ่านออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้านั้นเป็นเสียง อะ ต่อเนื่องด้วยพยางค์หลัง ตัวอย่าง เช่น

เอกชัย อ่าน เอกกะไช

กิจกรรม อ่าน กิดจะกำ

๒. ถ้าคำสมาสที่พยางค์ท้ายของคำหน้ามีสระ อิ กำกับอยู่ จะต้องอ่านออกเสียง อิ คำนั้นให้ต่อเนื่องกับคำหลัง ตัวอย่างเช่น

ประวัติศาสตร์ อ่าน ประหวัดติสาด

ยุติธรรม อ่านยุดติธรรม

ฯลฯ

๓. ถ้าเป็นคำสมาสที่พยางค์ท้ายของคำหน้ามีสระ อุ กำกับอยู่ เวลาอ่านต้องออกเสียง อุ พยางค์หน้าต่อเนื่องกับพยางค์หลัง ตัวอย่าง เช่น

เมรุมาศ อ่าน เมรุมาด

เชตุพน อ่าน เช-ตุพน

ฯลฯ

๔. ถ้าเป็นคำสมาสที่ตัวสะกดพยางค์หน้าเป็นอักษรควบ ต้องอ่านออกเสียง ตระ ท้ายคำหน้าให้ต่อเนื่องกับคำหลัง ตัวอย่าง เช่น

บุตรภรรยา อ่าน บุดตระพันระยา

ฉัตรมงคล อ่าน ฉัดตระมงคน

ฯลฯ

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น