วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

แนะนำบล็อก


ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ๊ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์

      ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ๊คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย
        นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำบล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมา
อย่าลืมนะค่ะ เป็นเว็บที่อยากจะแนะนำ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ๊ค (e-book) ด้วย อย่าลืมบล็อก atinno.blogspot.com นะค่ะ ^___^!!!!!

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการเรียนรู้จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยณ บ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช


โครงการเรียนรู้จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย

ณ บ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช

 

แหล่งเรียนรู้ชุมชน ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์ สืบสานเจตนารมย์บรรพบุรษจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียน สอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชน

แหล่งเรียนรู้รู้ชุมชนหรือบ้านหลังเรียนของหลวงปู่ทวดครูสิงห์ ซึ่งเป็นสถานทีบ้านหลังเล็กเปรียบเหมือนสถานศึกษาศิษย์ที่บุตรและธิดาได้สืบสานอุดมการณ์ต่อจากวิถีคิดของพ่อกับแม่ว่า ต้องการสร้างโรงเรียนให้การศึกษาแก่บุตรหลานในชุมชนตนเอง ที่บ้านกุดแคนหมู่ 6 ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์และแม่สง่า ฤทธิเดช ได้ร่วมกันจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์แม่สง่า ฤทธิเดช เปิดสอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชนตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยเปิดทำการสอนให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 80 คน จาก 12 หมู่บ้าน เปิดเรียนวันเสาร์ และวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 09.30 น.-12.30น.โดย โดยห้องเรียนใช้บริเวณห้องโถงข้างบ้าน และสวนหลังบ้านใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ

 

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศเพื่อการศึกษา

สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการคลิกที่นี่

โครงการเรียนรู้เชิงวิชาการจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย


โครงการเรียนรู้เชิงวิชาการจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย


 

ณ.แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์


 


โครงการบ้านหลังเรียน แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์บ้านกุดแคน ต.หนองโน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสานต่ออุดมการณ์ของ ปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดชอดีตครูประชาบาลที่มีความต้องการสร้างโรงเรียนให้ชุมชน และเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนไปทำกิจกรรมเสี่ยง ด้วยการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อกันเด็กและเยาวชนไม่ให้หลงทางเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในสังคม ให้หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ภายใต้แนวคิดเด็กนำผู้ใหญ่หนุนโดยมีดร.ประสพสุข ฤทธิเดช หรือ อาจารย์ป้าต๋อยผู้อำนวยการและผู้ประสานงานแหล่งเรียนรู้ชุมชนฯ


สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการ คลิกที่นี่

 

การย่อความ


    การย่อความ 

                การย่อความ คือ การเก็บเนื้อความหรือใจความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถูกต้องครบบริบูรณ์ตามตัวเรื่องแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ เป็นข้อความสั้น กะทัดรัด โดยไม่ให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ประโยชน์ของการย่อความ
         สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน บางครั้งเราใช้ประโยชน์ในส่วนนี้โดยไม่รู้ตัว การย่อความนั้นมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลทุกฝ่าย ทุกอาชีพ ทุกวัย ดังนั้น การย่อความ จึงมีประโยชน์ในการฝึกหัดอ่านในใจหรือฟังเพื่อเก็บข้อความสำคัญ ตลอดจนการฝึกหัดในการใช้ภาษาการเขียน ให้กระชับรู้จักแยกแยะใจความสำคัญที่เป็นแก่นของเรื่อง คือจะกล่าวแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเท่านั้น
วิธีย่อความ
         1) อ่านเรื่องที่ต้องการย่ออย่างละเอียด ด้วยความเป็นกลางหลายๆรอบ ว่าผู้เขียนต้องการเน้นหรือเสนอเรื่องอะไร มีความสำคัญอะไรบ้าง
         2) อ่านพิจารณา จับใจความสำคัญออกมาบันทึกด้วยภาษาที่รัดกุม
         3) นำใจความทั้งหมดมาเรียบเรียงใหม่ ให้เนื้อความสำคัญกันตามลำดับโดยใช้ประโยคสั้นๆ ความหมายชัดเจน
         4) ทบทวนข้อความเรียบเรียงอีกครั้ง ดูความบกพร่องอย่างถี่ถ้วนว่า ความหมายของเรื่องตกไปหรือเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่
         5) บทความที่นำมาย่อ การชี้แจงที่มาของข้อความที่นำมาย่อ นิยมใช้แบบขึ้นต้นย่อความดังนี้ย่อความร้อยแก้วธรรมดา ขึ้นต้นดังนี้
         - ย่อเรื่องอะไร
         - ใครเป็นผู้แต่ง
         - จากหนังสืออะไร หน้าเท่าไร
         - มีความว่า……
ย่อจดหมายขึ้นต้น ดังนี้
         - ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
         - เรื่องอะไร
         - วัน เดือน ปี อะไร
         - มีความว่า……
ถ้าเป็นจดหมายตอบรับ ขึ้นต้นดังนี้
         - ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
         - เรื่องอะไร
         - วัน เดือน ปี อะไร
         - ความฉบับแรกว่าอะไร
         - ใครตอบเมื่อไร
         - มีความว่า….
ย่อพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท โอวาท ปาฐกถาสุนทรพจน์ คำปราศรัย ขึ้นต้นดังนี้
         - ย่อ…..ของใคร
         - กล่าว (แสดง,ให้,พระราชทาน…..ฯลฯ) แก่ใคร
         - เรื่องอะไร (ถ้ามี)
         - เนื่องในงานอะไร(ถ้ามี)
         - ณ ที่ใด
         - เมื่อไร
         - ถ้าย่อจากหนังสือ ให้บอก วัน เดือน ปี ปีที่พิมพ์ และหน้า
         - มีความว่า…… 

หลักการอ่านคำบาลีและสันสกฤต


หลักการอ่านคำบาลีและสันสกฤต

คำบาลีและสันสกฤตนั้นมีหลักเกณฑ์การอ่านเป็นระเบียบแน่นอน แต่ไทยเรารับมาใช้แล้วได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ต่างๆ ไปบ้าง เพื่อความเหมาะสมกับบความนิยมของคนไทย ซึ่งมีหลักพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
๑. อ่านแบบเรียงพยางค์ คำบาลีและสันสกฤตที่ไม่เป็นตัวสะกด จะต้องมีรูปบสระกำกับอยู่เสมอ ถ้าหากไม่มีรูปสระใดกำกับอยู่ ให้อ่านออกเสียง อะ ทุกคำ ตัวอย่าง เช่น
กรณ อ่าน กะระนะ
วานร
วานะระ
ฯลฯ
๒. อ่านแบบพยัญชนะสังโยค พยัญชนะสังโยค คือ พยัญชนะสองตัวที่ประกอบร่วมกัน ตัวหนึ่งเป็นตัวสะกด อีกตัวหนึ่งเป็นตัวตาม เช่น สปฺต ตัว ป กับ ต เป็นพยัญชนะสังโยค ป เป็นตัวสะกด ต เป็นตัวตาม หลักการอ่านพยัญชนะสังโยคนี้ ถ้วตัวใดเป็นตัวสะกดไม่ต้องอ่านออกเสียง ตัวอย่าง เช่น
สัปดาห์ อ่าน สับดา
อาชญา
อาดยา
ฯลฯ
แต่มีข้อยกเว้นหลายกรณีด้วยกัน คือ
๒.๑ ถ้าพยัญชนะตัวหลังของตัวสะกด เป็นพยัญชนะ คือ ย ร ล ว เวลาอ่านออกเสียง อะ ที่ตัวสะกดได้ครึ่งเสียง ตัวอย่างเช่น
วิทยา อ่าน วิดทะยา
จัตวา
จัดตะวา
๒.๒ ถ้าพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้า เป็นตัว ล ให้อ่านออกเสียง ล มีเสียงอะได้ครึ่งหนึ่ง เช่น
กัลยา อ่าน กันละยา
ศิลปะ
สินละปะ
๒.๓ ถ้าพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้า เป็นพยัญชะอุสุม หมายถึง พยัญชะที่มีเสียงสอดแทรกออกทางไรฟัน ซึ่งได้แก่พยัญชนะ ศ ษ ส และมีพยัญชะตัวอื่นตามมาต้องอ่านออกเสียงสะ ติดต่อกับพยางค์หลัง เช่น
สัสดี อ่าน สัดสะดี
ทฤษฎี
ทริดสะดี

ฯลฯ

 

แต่มียกเว้นไม่ต้องอ่านออกเสียง เป็น พยัญชนะ อุสุม อยู่ ๓ คำคือ

สวัสดี อ่าน สะหวัดดี

สันนิษฐานสันนิดถาน

อธิษฐานอะทิดถาน

หลักการอ่านคำสมาส

คำสมาส คือ คำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาประสมกัน เพื่อย่อให้เป็นคำเดียวกัน เวลาอ่านต้องอ่านออกเสียงตัวสะกดของพยางค์หน้า ให้ติดต่อกับพยางค์แรกของคำหลังด้วย มีหลักเกณฑ์การอ่านดังต่อไปนี้

๑. ถ้าเป็นคำสมาสที่พยางค์ท้ายของคำหน้าไม่มีรูปสระใดกำกับอยู่ จะต้องอ่านออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้านั้นเป็นเสียง อะ ต่อเนื่องด้วยพยางค์หลัง ตัวอย่าง เช่น

เอกชัย อ่าน เอกกะไช

กิจกรรม อ่าน กิดจะกำ

๒. ถ้าคำสมาสที่พยางค์ท้ายของคำหน้ามีสระ อิ กำกับอยู่ จะต้องอ่านออกเสียง อิ คำนั้นให้ต่อเนื่องกับคำหลัง ตัวอย่างเช่น

ประวัติศาสตร์ อ่าน ประหวัดติสาด

ยุติธรรม อ่านยุดติธรรม

ฯลฯ

๓. ถ้าเป็นคำสมาสที่พยางค์ท้ายของคำหน้ามีสระ อุ กำกับอยู่ เวลาอ่านต้องออกเสียง อุ พยางค์หน้าต่อเนื่องกับพยางค์หลัง ตัวอย่าง เช่น

เมรุมาศ อ่าน เมรุมาด

เชตุพน อ่าน เช-ตุพน

ฯลฯ

๔. ถ้าเป็นคำสมาสที่ตัวสะกดพยางค์หน้าเป็นอักษรควบ ต้องอ่านออกเสียง ตระ ท้ายคำหน้าให้ต่อเนื่องกับคำหลัง ตัวอย่าง เช่น

บุตรภรรยา อ่าน บุดตระพันระยา

ฉัตรมงคล อ่าน ฉัดตระมงคน

ฯลฯ

 

 

คำไวพจน์


คำไวพจน์

1.             คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่มีรูปต่างกันและมาจากภาษาต่างกัน

2.             พระพุทธเจ้า พระสัพพัญญู พระโลกนาถ พระสมณโคดม พระตถาคต พระชินวร ชินศรี

3.             สวรรค์ ไตรทิพย์ สรวง สุราลัย สุริยโลก ศิวโลก สุขาวดี สุคติ เทวโลก ไตรทศาลัย

4.             เทวดา เทพ เทวินทร์ อมร สุรารักษ์ เทวัญ นิรชรา ไตรทศ ปรวาณ แมน เทวา

5.             พระอิศวร ตรีโลกนาถ บิดามห ศิวะ ศุลี มหาเทพ มเหศวร ภูเตศวร ศังกร ปศุบดี

6.             พระพรหม จัตุพักตร์ นิรทรุหิณ พระทรงหงส์ วิธาดา กมลาสน์ สรษดา ธาดา ปรชาบดี

7.             พระวิษณุ กฤษณะ ไวกุณฐ์ ไกษพ มาธพ สวภู พระจักรี ไตรวิกรม พระนารายณ์ จักรปาณี

8.             พระเจ้าแผ่นดิน บดินทร์ นโรดม นฤเบศน์ เจ้าหล้า ภูมินทร์ นฤบดี จอมราช ราเชนทร์ ขัตติยวงศ์

9.             พระอินทร์ โกสีย์ โกษี อินทรา มรุตวาน อมรินทร์ วชิราวุธ อมเรศร วัชรินทร์ ท้าวพันตา ตรีเนตร

10.      ครุฑ ไวนเตยะ สุวรรณกาย เวนไตย สุบรรณ กาศยป วิษณุรถ นาคานตกะ ปันนคนาสน์

11.      พระอาทิตย์ ทิพากร ทิวากร ทินกร ภาสกร รวิ รวี รพิ ระพี ไถง อังศุมาลี ภานุมาศ ตะวัน

12.      พระจันทร์ เดือน ศศิ ศศิธร บุหลัน โสม นิศากร แข รัชนีกร แถง นิศาบดี ศิวเศขร

13.      นางอุมา กาตยายนี เคารี ไหมวดี ภวาณี รุทธานี จัณฑี นางกาลี

14.      คำพูด วาจา วจี วัจนะ พจนา พากย์ ถ้อย วัจนา

15.      งู นาคราช อุรค ภุชงค์ อสรพิษ อหิ เงี้ยว

16.      นรก นิรย ทุคตินารก นิราบาย

17.      น้ำ คงคา นที สินธุ์ สาคร สมุทร ชลาลัย อุทก ชโลธร อาโป สลิล รัตนากร อรรณพ อัมพุ

18.      ปลา มัจฉา มัสยา มัจฉาชาติ มิต ชลจร วารีชาติ อัมพุชา ปุถุโลม มีนา มีน

19.      เมือง บุรี ธานินทร์ ราชธานี นคร นครินทร์ นคเรศ ประเทศ พารา กรุง นครา บุรินทร์

20.      คน มนุษย์ มรรตย นร นคร มานพ ชน บุรุษ

21.      ลูกชาย บุตร ปรัตยา ตนุช โอรส กูน เอารส

22.      ลูกหญิง บุตรี ธิดา ธิตา สุดา ทุหิตา

23.      ผู้หญิง อรไท แก้วตา ดวงสมร นงคราญ นงพะงา บังอร สายสมร พธู อิตถี สมร ร้อยชั่ง

24.      ผู้หญิง สตรี อนงค์ อิสตรี กัญญา กันยา กานดา นงเยาว์ มารศรี ยุพเยาว์ ยุพเรศ วนิดา

25.      ผู้หญิง นงลักษณ์ นารี ดรุณี กัลยาณี ยุพดี ยุพา ยุพิน ยุวดี เยาวเรศ สุดา สัตรี พนิดา นงราม

26.      นก สกุณ สกุณี สกุณา วิหค ปักษี ทิชากร ปักษิณ ปักษา บุหรง ทวิช ทวิชาชาติ

27.      ช้าง หัสดี กุญชร คช กรี ดำริ คชินทร์ คชาธาร หัตภี คเชนทร์ กวิน ไอยรา คชา กรินทร์ หัสดินทร์

28.      ม้า พาชี สินธพ อาชาไนย ไหย อัศว แสะ มโนมัย อาชา อัศวะ

 

คำสมาส


คำสมาส

คำสมาส การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำบาลี-สันสกฤต ตั้งแต่สองคำมาต่อกันหรือรวมกัน


ลักษณะของคำสมาสเป็นดังนี้
๑. เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเท่านั้น คำที่มาจากภาษาอื่นๆ นำมาประสมกันไม่นับเป็นคำสมาส ตัวอย่างคำสมาส
บาลี+บาลี เช่นอัคคีภัย วาตภัย โจรภัย อริยสัจ ขัตติยมานะ อัจฉริยบุคคล
สันสกฤต+สันสกฤต เช่น แพทยศาสตร์ วีรบุรุษ วีรสตรี สังคมวิทยา ศิลปกรรม
บาลี+สันสกฤต, สันสกฤต+บาลี เช่น หัตถศึกษา นาฎศิลป์ สัจธรรม สามัญศึกษา


๒. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น
วัฒน+ธรรม = วัฒนธรรม
สาร+คดี = สารคดี
พิพิธ+ภัณฑ์ = พิพิธภัณฑ์
กาฬ+ปักษ์ = กาฬปักษ์
ทิพย+เนตร = ทิพยเนตร
โลก+บาล = โลกบาล
เสรี+ภาพ = เสรีภาพ
สังฆ+นายก = สังฆนายก


๓. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น
ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู-มิ-สาด
เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด
เศรษฐการ อ่านว่า เสด-ถะ-กาน
รัฐมนตรี อ่านว่า รัด-ถะ-มน-ตรี
เกตุมาลา อ่านว่า เก-ตุ-มา-ลา

๔. คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น
ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ)
หัตถ (มือ) + กรรม (การงาน) = หัตถกรรม (งานฝีมือ)
คุรุ (ครู) + ศาสตร์ (วิชา) = คุรุศาสตร์ (วิชาครู)
สุนทร (งาม ไพเราะ) + พจน์ (คำกล่าว) = สุนทรพจน์ (คำกล่าวที่ไพเราะ)


หลักการสังเกต
๑. คำสมาสต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น
๒. คำสมาสมีลักษณะคล้ายการนำคำสองคำมาวางเรียงต่อกัน เวลาอ่านจะมีเสียงสระต่อเนื่องกัน
๓. ไม่มีการประวิสรรชนีย์ (ะ) หรือเครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ )
๔. การเรียงคำ คำหลักจะอยู่ข้างหลัง ดังนั้นการแปลจึงแปลความหมายจากหลังมาหน้า
๕. คำ "พระ" ประกอบหน้าคำบาลี สันสกฤต จัดเป็นคำสมาส
๖. คำที่ลงท้ายด้วยคำว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา มักเป็นคำสมาส

คำสนธิ


คำสนธิ

คำสนธิ
คำสนธิในภาษาไทยหมายถึงคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต มาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง
สนธิมี 3 ลักษณะ คือ
1. สระสนธิ
2. พยัญชนะสนธิ
3. นิคหิตสนธิ

๑. สระสนธิ คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น
วิทย+อาลัย = วิทยาลัย
พุทธ+อานุภาพ = พุทธานุภาพ
มหา+อรรณพ = มหรรณพ
นาค+อินทร์ = นาคินทร์
มัคค+อุเทศก์ = มัคคุเทศก์
พุทธ+โอวาท = พุทโธวาท
รังสี+โอภาส = รังสิโยภาส
ธนู+อาคม = ธันวาคม

๒. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น
รหสฺ + ฐาน = รโหฐาน
มนสฺ + ภาว = มโนภาว (มโนภาพ)
ทุสฺ + ชน = ทุรชน
นิสฺ + ภย = นิรภัย

๓. นฤคหิตสนธิ ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็น นฤคหิต กับคำอื่นๆ เช่น
สํ + อุทัย = สมุทัย
สํ + อาคม = สมาคม
สํ + ขาร = สังขาร
สํ + คม = สังคม
สํ + หาร = สังหาร
สํ + วร = สังวร

หลักการสังเกต
๑. คำสนธิต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น
๒. เมื่อนำคำมาสนธิกันแล้ว จะกลายเป็นคำเดียว และจะต้องแปลจากคำหลังมาคำหน้า
๓. คำที่จะนำมาสนธิกัน จะต้องมีทั้งสระหน้าและสระหลัง
๔. เมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ หรือนิคหิตที่เชื่อมเสมอ

 

 

คำพ้อง

คำพ้อง
 
คำพ้อง คือ คำที่เขียนรูปหรือออกเสียงตรงกัน แต่ความหมายต่างกัน
คำพ้อง แบ่งเป็น ๓ ชนิด ดังนี้

๑. คำพ้องรูป
คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียงต่างกัน และมีความหมายต่างกัน การอ่านคำพ้องรูปให้ถูกต้องควรดูข้อความอื่นๆ ประกอบด้วยว่าคำพ้องรูปนั้น หมายถึงอะไร เเล้วจึงอ่านให้ถูก

ตัวอย่าง คำพ้องรูป
ครุ อ่านว่า คฺรุ หมายถึง ภาชนะสานชนิดหนึ่ง
คะ-รุ หมายถึง ครู, หนึ่ง
ปรามาส อ่านว่า ปฺรา-มาด หมายถึง ดูถูก
ปะ-รา-มาด อ่านว่า การจับต้อง การลูบคลำ
พยาธิ อ่านว่า พะ-ยา-ธิ หมายถึง ความเจ็บไข้
พะ-ยาด หมายถึง ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง
เพลา อ่านว่า เพลา หมายถึง แกน, ดุมล้อ, เบาลง
เพ-ลา หมายถึง เวลา
สระ อ่านว่า สะ หมายถึง แอ่งน้ำขนาดใหญ่, ชำระล้าง
สะ-หระ หมายถึง อักษรแทนเสียงสระ

๒. คำพ้องเสียง
คำพ้องเสียง คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และมีความหมายต่างกัน

ตัวอย่าง คำพ้องเสียง
เขี้ยวงู เคี่ยวน้ำแกง อ่านว่า เขี้ยว
ซ่อมเเซม ช้อนส้อม อ่านว่า ส้อม
คุณค่า ถูกฆ่า ข้าทาส อ่านว่า ค่า
สัตว์เลี้ยง ซื่อสัตว์ อ่านว่า สัด

๓. คำพ้องทั้งรูปและเสียง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำหลายความหมาย ซึ่งหมายถึง คำที่มีรูปเหมือนกัน อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน เเต่มีความหมายหลายอย่างเเล้วเเต่จะนำไปใช้

ตัวอย่าง คำพ้องทั้งรูปและเสียง
คำว่า "ขัน" อ่านว่า ขัน หมายถึง ๑. ภาชนะสำหรับตักหรือใส่น้ำ
๒. ทำให้ตึงหรือเเน่นด้วยวิธีหมุนเข้าใป เช่น ขันนอต
๓. อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่
๔. หัวเราะ รู้สึกตลก
คำว่า "แกะ" อ่านว่า แกะ หมายถึง ๑. ชื่อสัตว์ ๔ เท้า ประเภทหนึ่ง
๒. เอาเล็บมือค่อยๆ แกะ เพื่อให้หลุดออก
คำว่า "เงาะ" อ่านว่า "เงาะ" หมายถึง ๑. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก
๒. ชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง

 

ควบกล้ำ ร ล ว


ควบกล้ำ ร ล ว

ภาษาไทย เป็นวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงความเป็นไทยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ แสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมภาษา เราทุกคนควรช่วยกันรักษาและสืบทอดเจตนารมณ์เพื่อให้ลูกหลานมีความเป็นไทยและภาคภูมิใจในภาษาไทย ดังพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกร ณ มหาวิทยาลัย พระราชทานเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ความตอนหนึ่งว่า

"…ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้ถ้อยคำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริงอยู่เนือง ๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เอง เป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเรา ทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้น จึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ…" และพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 เนื่องในงานสัมมนาทางวิชาการภาษาไทยกับการพัฒนาชาติณ หอประชุมจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ความตอนหนึ่ง "ภาษาไทยมีความสำคัญอย่างมากในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม และส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ ผู้รู้ภาษาไทยดีจะทำให้การเรียนวิชาอื่นดีไปด้วย ทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสวงหาความรู้อีกด้วย…"

เราจะเห็นความสำคัญของภาษาว่า เป็นเครื่องมือสื่อสารที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ฉะนั้นภาษาไทยของเรามีความละเอียดอ่อน มีความสวยงาม มีความหลากหลาย มีกฎ ระเบียบ วิธีใช้เฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำ หมายถึง คำที่มีพยัญชนะสองตัวเขียนเรียงติดกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า
คำควบกล้ำ มี 2 ชนิด คือ คำควบแท้ และ ควบไม่แท้
คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน เช่น
พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่ พร้อม เพราะ ใคร กรอง ครองแครง ขรุขระ พระ ตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ปรับปรุง ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบครัว โปร่ง
พยัญชนะต้นควบกับ ล ได้แก่ กลบเกลื่อน กลมกลิ้ง เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น เคลื่อนคล้อย ปลา ปลวก ปล่อย เปลี่ยนแปลง คลุกคลาน เพลิง เพลิดเพลิน คล่องแคล่ว
พยัญชนะต้นควบกับ ว ได้แก่ แกว่งไกว กวาด กว่า ขวาง ขว้างขวาน ขวิด แขวน ขวนขวาย ควาย เคว้งคว้าง คว่ำ ควาญ ความ แคว้น ขวัญ ควัน

คำควบไม่แท้
คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ "ร" ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง "ร" ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือ มิฉะนั้นก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป
คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ได้แก่พยัญชนะ จ ซ ศ ส ควบกับ ร เช่น จริง ไซร้ เศร้าสร้อย ศรี ศรัทธา เสริมสร้าง สระ สรง สร่าง
คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ ได้แก่ ทรง ทราบ ทราม ทราย แทรก ทรุด โทรม มัทรี อินทรี นนทรี พุทรา

 

 

ภาษาอังกฤษในภาษาไทย


ภาษาอังกฤษในภาษาไทย

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เรียบง่ายขึ้น มีโครงสร้างประโยคคล้ายภาษาไทย มีระบบเสียงต่างกับภาษาไทยบ้าง ในขณะ เดียวกันก็มีลักษณะ บางประการเหมือนภาษาคำโดด และภาษาคำติดต่อปนอยู่ เมื่อภาษาอังกฤษ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เรียบง่ายขึ้น ภาษาอังกฤษจึงได้รับความนิยมใช้เป็นภาษา เพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศต่าง ๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการมากมาย ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ดังนั้นภาษาอังกฤษ จึงเข้ามามีบทบาทต่อภาษาไทยมาก คนไทยบางคนนิยมพูดภาษาไทยปนฝรั่งกันอย่างแพร่หลาย วัฒนธรรมฝรั่งก็เข้ามาปะปนในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น ค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ภาษาไทยก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เรายืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ โดยการ ทับศัพท์ ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป ใช้คำไทยแปล ใช้คำสันสกฤตแปล ใช้คำบาลีสันสกฤตหรือคำอังกฤษซ้อนหรือประสมกับคำไทย และเปลี่ยนความหมาย (ทองสุก เกตุโรจน์, 2551, หน้า 108)
การยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทย
วิธีการยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทยโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
1. การแปลศัพท์
การยืมคำภาษาอังกฤษโดยวิธีการแปลศัพท์ หมายถึง การยืมคำที่เราไม่เคยมีหรือไม่เคยรู้จัก หรือการกล่าวถึงความคิดหรือนามธรรม ซึ่งไม่ใช่ความคิดหรือนามธรรมที่เรานึกคิดมาก่อน (ปราณี กุลละวณิชย์ และอื่น ๆ, 2535, หน้า 67) การยืมคำโดยวิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป ดังตัวอย่างเช่น
คำภาษาอังกฤษ
คำภาษาไทย
tea spoon
ช้อนชา
table spoon
ช้อนโต๊ะ
electricity
ไฟฟ้า
electric fan
พัดลม
airplane
เครื่องบิน
typewriter
เครื่องพิมพ์ดีด
war ship
เรือรบ
blackboard
กระดานดำ
black market
ตลาดมืด
short story
เรื่องสั้น
middle-man
คนกลาง
dry cleaning
ซักแห้ง
horse power
แรงม้า
honeymoon
น้ำผึ้งพระจันทร์
loan word
คำยืม
handbook
หนังสือคู่มือ
blacklist
บัญชีดำ